วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

เครี่องดนตรีไทย








มโหรีปี่ฆ้องร้องรับ ซอขับขลุ่ยครวญหวนหา จับปี่มี่ก้องร้องลา หลิบหลบครบครัน ติงทั่งทั่งติงฉิ่งฉับ จะเข้รับด้วงล้วงทรวงสั่น จวนสิ้นเสียงกล่อมโลกพลัน ฝากมันแก่เจ้านี้ “ดนตรีไทย”
เสียงซออออ่อ อ้อเอื่อยเพลง จับปี่เต๋งเต้ง เตงเต่งต้อง ตอดตุ๋ยตุ่ยตุ้ยเหนง เหน้งเหน่งระนาดเอย ฆ้องหน่องหนองน่องหน้อง ผรึ่งผรึ้งผรึ้งตะโพน



“เครื่องดนตรี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นเครื่องบรรเลง
ซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลง 
เครื่องดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งบรรพบุรุษของเราได้สร้างสมไว้ และ
เป็นเครื่องหมาย อย่างหนึ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของชาติไทย เช่นเดียวกับภาษา และ ศิลปวัฒนธรรม
ด้านอื่น ๆ สมควรที่เราจะภาคภูมิใจและช่วยกันทะนุบำรุง ส่งเสริมและรักษาไว้ให้ดำรงคงอยู่สืบไป
ในเบื้องต้นนี้ เราควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีไทย อันอาจจะก่อให้เกิดความรักและ ความสนใจ
ดนตรีไทยขึ้นมาได้ ต่อไปนี้จะขอแนะนำให้รู้จักส่วนหนึ่งของ "ดนตรีไทย" คือ "เครื่องดนตรีไทย"


ด้วยลักษณะของการทำให้เกิดเสียงดนตรี ดังกล่าวข้างต้น
เราอาจจะแบ่งประเภทของเครื่องดนตรี ออกได้เป็นกลุ่มกว้าง ๆ ได้ดังนี้

1.เครื่องดีด


เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงด้วยการใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย
แล้วเกิดเสียงดังขึ้น เราจะรวมเรียกว่า “เครื่องดีด” ฯลฯ


2.เครื่องสี


เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้า กับสายในดนตรีไทย ฯลฯ


3.เครื่องตี


เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของ สองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี ฯลฯ


4.เครื่องเป่า


เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ ฯลฯ


5.การประสมวง


วงดนตรี คือ การเอาเครื่องดนตรีหลาย ๆ อย่างมาบรรเลงรวมกัน แต่การที่จะนำเอาเครื่องดนตรี
คนละอย่างมาบรรเลงพร้อม ๆ กันนี้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น