วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติรัชกาลที่ 2



พระมหากษัตริย์ไทย
 

                         
 
 พระราชประวัติรัชกาลที่  ๒
ตราประจำรัชกาลที่ ๒
      "ครุฑจับนาค" เป็นตรางา ลักษณะกลม รูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ "ฉิม" ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ

 พระนาม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

      พระนามเต็ม สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเมนทรต์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร (พระนามที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นั้น พึ่งถวายพระนามเรียกเมื่อรัชกาลที่ ๓)
พระนามย่อ  -
พระนามเดิม ฉิม 
      พระราชสมภพ ณ นิวาสสถานตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม
วันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ 
ตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๑๐
เป็นบุตรคนที่ ๔ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ก่อนปราบดาภิเษก ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี) กับสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระราชชนนี ทรงพระนามเดิมว่า นาก  เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา
รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี 
พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์ 
สวรรคต  เมื่อวันพุธ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ
ตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๖๗ ปีวอก 
รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา 
วัดประจำรัชกาล วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) 
เหตุการณ์สำคัญ กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง
มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม
แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น  ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง
ดูเรื่อง ธงชาติไทย 
      พ.ศ.๒๓๕๒  เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ  โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความ สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง
 พ.ศ.๒๓๕๓  ราชฑูตญวนมาขอเมืองบันทายมาศ
ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับต่างชาติครั้งแรกของพระบรมราชจักรีวงศ์
ทรงแต่งราชทูตเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงจีน โดยประทับตราโลโตบนพระราชสาสน์ เยี่ยงพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา 
       พ.ศ.๒๓๕๔  โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่างๆ 
โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา"
เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ"
โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา
       พ.ศ.๒๓๕๖  โปรดให้จัดการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคลสรงสนานเฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงศอิศรกษัตริย์ ขัติยราชกุมาร โดยทรงกำหนดให้มีการลงสรงในคราวเฉลิมพระนาม แทนการลงสรงในพระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งทำกันมาแต่เดิม 
       พ.ศ.๒๓๕๙  โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น ๙ ประโยค
      พ.ศ.๒๓๖๐  ทรงฟื้นฟูพิธี วิสาขบูชา โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา ให้มีการรักษาอุโบสถศีล ปล่อยนก ปล่อยปลา อีกทั้งโปรดให้มีการประดับโคมประทีปถวายเป็นพุทธบูชา  ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบมาจนทุกวันนี้ 
พ.ศ.๒๓๖๑ ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพน
สมณฑูตกลับจากลังกา เจ้าเมืองมาเก๊า ขอเจริญพระราชไมตรี 
       พ.ศ.๒๓๖๒ หมอจัสลิส มิชชันนารีประจำร่างกุ้ง หล่อตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรก
      พ.ศ.๒๓๖๓ ฉลองวัดอรุณราชวราราม 
สังคายนาบทสวดมนต์ โปรตุเกสตั้งสถานฑูต 
      พ.ศ.๒๓๖๕ เซอร์จอห์น ครอฟอร์ด เป็นฑูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี 
      พ.ศ.๒๓๖๗ เสด็จสวรรคต 

  
   
อ้างอิง :
ประกอบ โชประการ, ประยุทธ สิทธิพันธ์, สมบูรณ์ คนฉลาด. 
หนังสือ ๙ พระมหากษัตริย์ไทยครองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี. กรุงเทพฯ
: วิชัย อังศุสิงห์  หนังสือพิมพ์รวมข่าว 2525.
กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. ฉัตรแก้วเก้าแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : คุรุสภา 2540.
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น