วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติหลวงพ่อขาว


ประวัติหลวงปู่ขาวPDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย manager   
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2009 เวลา 02:40
      
                       
  ประวัติหลวงปู่ขาว  อนาลโย                           
      
      พระอริยสงฆ์ผู้สำเร็จอริยธรรมแห่งเมืองหนองบัวลำภู  หลวงปู่ขาว  อนาลโย  ผู้สำเร็จอริยธรรม      
คิอ ๑.  นางวัน      ๒.  นายบุญจันทร์ ๓.  นางหนูแดง ๔. หลวงปู่ขาว
 ๕.  นากาเหว่า ๖.  นางหลอด ๗.  นางไหล  
 เมื่อครั้งเป็นฆราวาสยึดอาชีพทำนา  เมื่ออายุ  ๒๐  ปี  ได้แต่งงานกับนางมี  มีบุตรธิดา  ๗  คน  
 ได้แก่นายคำมี และนายลี  โครถา  เป็นต้น  นายคำมีได้ออกบวชตามพ่อ  และมรณภาพก่อนพ่อ         
ส่วนนายลี  โครถา ได้ติดตามปรนนิบัติหลวงปู่ขาวมาตลอด  สาเหตุที่หลวงปู่ขาวออกบวชนั้น 
มาจากภรรยาประพฤตินอกใจ  จึงเป็นเหตุให้ท่านตัดสินใจออกบวช  เพื่อแสวงหาความสุขทางใจ
อันเป็นความสุขที่แท้จริง  ท่านออกบวชเมื่ออายุ  ๓๑  ปี   ที่วัดโพธิ์ศรี  บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว
อำเภออำนาจเจริญ  ( ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ )  จังหวัดอุบลราชธานี  เมื่อเดือนพฤษภาคม
พ.ศ. 2462  โดยมีพระครูวิฒิศักดิ์  เป็นพระอุปัชฌาย์  พระบุญจันทร์   เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดโพธิ์ศรีนานถึง  ๖  ปี  ต่อจากนั้นได้ออกเที่ยวธุดงค์
กรรมฐานไปยังพระธาตุพนม  อุดรธานี  และหนองคาย  
ภูริทัตโตและได้พบกับพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  แต่พระอาจารย์มั่นต้องการวิเวกจึงหลีกหนีไป
เชียงใหม่  ฝ่ายหลวงปู่ขาว อนาลโยก็เดินธุดงค์ไปตามริมฝั่งโขงเรื่อย ๆ  จึงถึงเชียงใหม่จึงได้รับโอวาท
จากพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต  และได้จำพรรษาที่เชียงใหม่   นั้น ๑  พรรษา  ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุ
ธรรมชั้นสูง  แล้วเดินธุดงค์กลับมาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ผ่านทางจังหวัดเลย หนองคาย
สกลนครและอุดรธานี      ในปี  พ.ศ.  ๒๕๐๑  ท่านหลวงปู่ขาว  อนาลโย  ได้เดินธุดงค์มาในเขตหนองบัวลำภูหลายแห่ง
 และได้มาพบถ้ำแห่งหนึ่ง  บนเทือกเขาภูพานคำ  ชาวบ้านเรียกกันว่า  " ถ้ำกลองเพล "  เพราะก้อนหิน
ใหญ่ที่ถ้ำแห่งนี้มีสัณฐานเหมือนกับกลองเพล  ท่านหลวงปู่ขาว  อนาลโย  ได้พักอยู่ที่ถ้ำกลองเพล
เพื่อบำเพ็ญสมณธรรมกรรมฐาน  และได้พิจารณาดูภูมิประเทศแห่งนี้ว่าเป็นสถานที่สงบเงียบ 
ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนัก  เป็นสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของพระสงฆ์ผู้ต้องการความสงบ
ท่านหลวงปู่ขาว  อนาลโย  จึงได้ตกลงใจอยู่จำพรรษา ณ วัดถ้ำกลองเพล  แห่งนี้มาตั้งแต่ปี  พ.ศ. ๒๕๐๑
มาถึงวาระสุดท้ายเมื่อวันจันทรืที่  16  พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๕๒๖  ท่านมรณภาพด้วยโรคชรา  สิริรวม
อายุได้  ๙๕  ปี  ๕ เดือน  วัดถ้ำกลองเพล  เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่  พ.ศ.  ๒๔๗๐  ยังไม่เป็นวัดโดยสมบูรณ์
เป็นเพียงสำนักสงฆ์  ต่อมาในปี  พ.ศ. ๑๕๑๓ เมื่อหลวงปู่ขาว  อนาลโย  ได้มาอยู่ประจำวัดถ้ำแล้ว 
๑๒ ปีเศษ  จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เป็นวัดโดยสมบูรณ์แบบเนื้อที่ตั้งวัดทั้งสิ้นมี
๑,๑๐๐  ไร่  หลวงปู่ขาว  อนาลโย  เป็นพระฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานที่มีจริยาวัตรอันน่าเลื่อมใสมาก
เกียรติคุณของท่านได้ฟุ้งขจรไปทั่วทุกสารทิศ  ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต  ในเขตใกล้แดนไกล  ได้พากัน
มากราบไหว้นมัสการและรับฟังโอวาทจากท่านหลวงปู่ขาว  อนาลโย  อยู่เป็นประจำมิได้ขาด
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรม
ราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกยาเธอ  ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ
หลวงปู่ขาว  อนาลโย  เพื่อทรงเยี่ยมเยือน  ถวายปัจจัยไทยธรรม  ถวายผ้าพระกฐินและสนทนาธรรม
ที่วัดถ้ำกลองเพลอย่างสม่ำเสมอ  ถึง ๘ ครั้ง กล่าวคือ
 ครั้งที่ ๑  วันที่  ๒๗  พฤศจิกายน  ๒๕๑๙    
 ครั้งที่  ๒  วันที่  ๒๒  พฤศจิกายน  ๒๕๒๑    
 ครั้งที่  ๓  วันที่  ๒๑  พฤศจิกายน  ๒๕๒๒    
 ครั้งที่  ๔  วันที่  ๒๒  พฤศจิกายน  ๒๕๒๒    
 ครั้งที่  ๕  วันที่  ๑๕  พฤศจิกายน  ๒๕๒๓    
 ครั้งที่  ๖  วันที่  ๑๓  มีนาคม  ๒๕๒๕    
 ครั้งที่  ๗  วันที่  ๑๔  พฤศจิกายน  ๒๕๒๖    
 ครั้งที่  ๘  วันที่  ๒๑  พฤศจิกายน  ๒๕๒๖     
               นอกจากนี้ยังได้ทรงเยี่ยมเยือนราษฎรที่มารอรับเสด็จภายในบริเวณวัดถ้ำกลองเพลด้วย 
พระราชดำริที่ทรงปุจฉาวิสัชนาธรรมกับหลวงปู่ขาวนั้น  อาจารย์ ดร.บุญยงค์  เกศเทศ  และอาจารย์
นฤมล  มีสูงเนิน  แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้บันทึกคำบอกเล่าของหลวงปู่บุญเพ็ง  เขมาภิรโต
ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ขาว  และเจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพลไว้ดังนี้   
ในหลวง  :   ทำไมประชาชนถึงได้หลงไหลแห่แหนมากราบไหว้หลวงปู่  เขาอยากได้อะไร
หลวงปู่ขาว :   เขาคงหอมศีลเขาจึงมา  ถ้าไม่มีศีลเขาคงไม่มา  หากพระไม่มีศีลมีแต่รูปที่งาม
สร้างวัดใหญ่สวยหรู ไม่ประพฤติปฏิบัติธรรม  ก็คงไม่มีใครมากราบไหว้  ถึงแม้ว่าพระอยู่ในป่า  ประพฤติปฏิบัติธรรมในป่าแต่มีศีลแล้ว 
 เขาก็แห่แหนมากราบไหว้เอง   
 ในหลวง :  ทำอย่างไรจึงจะให้ประชาชนรักษาศีลปฏิบัติธรรม 
 หลวงปู่ขาว :   พระองค์ต้องปฏิบัติก่อนแล้วราษฎรก้จะปฏิบัติตามเอง 
 ในหลวง :    เราปฏิบัติศีลห้าบริบูรณ์แล้ว   
 หลวงปู่ขาว :    ถ้าทำอย่างนั้นแล้วราษฎรก้ต้องปฏิบัติตาม  เจ้านายเป็นอย่างไรลูกน้องก็
   เป็นอย่างนั้น  ถ้าเจ้านายดี ลูกน้องก็ต้องดีด้วย  ในหลวงปฏิบัติเช่นไรประชาชน
   ก็ต้องปฏิบัติตาม    
 หลังจากที่พระองค์ได้สนทนาธรรมและวิธีปฏิบัติจากแนวคิดหลวงปู่ขาว  ในครั้งนั้นแล้ว
 พระองค์ทรงปวารณาตนเป็นอุบาสกต่อหลวงปู่ขาว  หลวงปู่ขาวต้องการอะไร  พระองค์ก็ทรงจัดหา
มาให้เท่าที่พระองค์จะทรงจัดหามาได้ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการหลวงปู่ขาว  อนาลโย
 อย่างสม่ำเสมอ  ดังกล่าวแล้ว  จนกระทั่งหลวงปู่ขาวถึงกาลมรณภาพ  ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสว่า
 " ศพของหลวงปุ่ขาวให้อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์จนถึงวันเผา "  ระหว่างตั้งศพบำเพ็ญกุศล 
ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  พระราชทานพวงมาลาของหลวง  และของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ 
พระบรมราชินีนาถ  วางหน้าโกศศพในวันตั้งศพวันแรก  และได้ทรงบำเพ็ญพระราชทานกุศล  ออก
เมรุพระราชทานแล้วยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุ
ชั่วคราว วัดถ้ำกลองเพลอีกด้วย 
พร้อมกันนี้ได้ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนหนึ่งล้านสี่แสนบาท  ทั้งเพื่อถวายเลี้ยง
พระสงฆ์และเป็นปัจจัยสมทบในการสร้างพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว  อนาลโย  และเมื่อ
สร้างเสร็จแล้วพระองค์ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ด้วย  นับเป็นพระ
มหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่  ถ้าหากดวงวิญญาณของหลวงปู่ขาว  อนาลโย  สามารถทราบด้วยญาณ
วิถีใดก็ตาม  คงบังเกิดความปีติเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้   เพื่อให้เกียรติประวัติของหลวงปู่ขาว  อนาลโย  สมบูรณ์ครบถ้วน 
จึงขออัญเชิญคำสดุดีหลวงปู่ขาว  อนาลโยของสมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อนและองคืปัจจุบัน  มาลงไว้  ดังต่อไปนี้
 คำสดุดีหลวงปู่ขาว  อนาลโย  ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  ( วาสน์  วาสโน ) 
สมเด็จพระสังฆราช  วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมารามในหัวข้อ " หลวงปู่ขาว  อนาลโย "  ความว่า  "
หลวงปู่ขาว  ฉายาว่า  อนาลโย  วัดถ้ำกลองเพล อำเภอหนองบัวลำภู  จังหวัดอุดรธานี  เป็นพระเถระ
ฝ่ายวิปัสสนาธุระอรัญญวาสี  มีจริยาวัตรหนักแน่นมั่นคงในธรรมปฏิบัติที่ปรากฎต่อศิษย์ยานุศิษย์
ผู้เคารพนับถืออย่างสนิทใจว่า  ท่านเป็นผู้เห็นธรรมอย่างแท้จริง  เพราะมีกาย  วาจา  ใจสงบระงับอยู่ใน
ทำนองคลองธรรม  เป็นปกติวิสัย  ไม่แสดงอาการหวั่นไหว  เพราะประสบอารมณ์น่าปรารถนาหรือไม่น่า
ปรารถนาที่ผ่านเข้ามากระทบ  คงดำรงอารมณ์มั่นตามหลักะรรมมีสติสัมปชัญญะอย่างสมบูรณ์ 
มีความเห็นรู้แจ้งเห็นจริงตรงตามความเป็นจริง  ปล่อยให้อารมณ์ทั้งสองฝ่ายนั้นผ่านไปตามธรรมดา
ไม่มีการยึดถือ  ดังหยาดน้ำตกลงบนใบบัว  ย่อมกลอกกลิ้งตกไปไม่ซึมซาบติดใบบัว  ฉะนั้น  นามฉายา
ของท่านว่า  อนาลโย  น่าชวนให้เข้าใจว่า  หมายถึงชื่อตัวคือขาว  นั่นเอง  ที่จริงคำว่าอนาลดย 
แปลว่าไม่มีอาศัย  คือไม่มีความถือห่วงใยในฐานะเป็นเจ้าของ  ทั้งในบุลคล  สัตว์และพัสดุทั้งหลาย
ทางธรรมถือว่าผู้ยังยึดมั่นอยู่เช่นนั้นเป็นผู้มีใจไม่สะอาดหมดจด  เพราะมัวหมองด้วยการยึดถือ
เมื่อหมดยึดถือ  ปล่อยวางด้วยรู้เท่าทันธรรมดา  เป็นความเห็นชอบ  ตามความเป็นจริง  จะเชื่อว่าใจ
สะอาดบริสุมธิ์สีขาวเปื้อนเป็นสีบริสุทธิ์ไม่มีสีอื่นแปดเปื้อน  หลวงปู่ขาวมีฉายาว่า  อนาลโย  จึงทำ
ให้เข้าใจว่าผู้มีใจขาวบริสุทธิ์  คือกายกับใจของท่านบริสุทธิ์สมกัน  ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์  เห็นปานนี้
ย่อมข้ามพ้นมุจจุราชได้  สมเป็นปูชนียะชั้นประเสริฐแท้จริง  ศิษยานุสิษย์และผู้เคารพนับถือ
จึงควรบูชาคุณธรรมของท่านด้วยฝึกฝนปฏิบัติตนตามปฏิปทาที่ท่านอบรมมาจนตลอดอายุขัย 
เพื่อเป็นสักการะบูชาท่านผู้ทรงคุณควรบูชาจัดเป็นกตเวทีอย่างสมควรแท้ "  
 และคำสดุดีหลวงปู่ขาว  อนาลโย  ของสมเด็จพระญาณสังวร  ( เจริญ  สุวัฒโณ )  สมเด็จ
พระสังฆราช  วัดบวรนิเวศวิหาร  ในหัวข้อ " สังฆานุสติ "  ความว่า  " เมื่อระลึกถึงหลวงปู่ขาว  อนาลโย
ก็อดไม่ได้ที่จะรึกถึงพระสังฆคุณว่า  สุปฏิปันโน  ภควาโต  สาวกสังโฆ  อุชุปฏิปันโน  สามีจิปฏิปันโน 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ปฏิบัติดีแล้ว  ปฏิบัติตรงแล้ว  ปฏิบัติถูกต้องแล้ว  ปฏิบัติชอบ
เหมาะแล้ว  จึงเกิดความเลื่อมใสเคารพ  ในสุปฏิบัติ  อุชุปฏิบัติ  ญายปฏิบัติ  สามีจิปฏิบัติของท่าน
ตั้งแต่ได้ไปกราบนมัสการท่านเป็นครั้งแรก  ได้เห็นได้เข้าไปนั่งใกล้  ได้ฟังธรรมจากถ้อยคำของท่าน
พร้อมกับด้วยรู้สึกสัมผัสจิตใจของท่านอันเปี่ยมด้วยเมตตากรุณาจากสายตาสีหน้ากายวาจาที่
ต้อนรับด้วยธรรมปฏิสันถารอันบริสุทธิ์  เป็นที่ประทับใจให้ระลึกถึงและไปกราบนมัสการ  ได้เห็นได้
สดับรับธรรมรสจากท่านอีกโดยลำดับมาแม้ขันธ์ของท่านจะแตกดับไป  ตามธรรมดาของสังขาร
 คุณของท่านอันพึงกล่าวได้ว่า  อนาลโย  คุโณ  ย่อมดำรงอยู่เป็นที่ระลึกถึงและเคารพกราบไหว้ตลอดไป
พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวจังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชตั้งแต่สมัยครั้งยังเป็นอำเภอหนองบัวลำภู  จังหวัดอุดรธานี  จนถึงปัจจุบัน 
หลายโครงการ  นับว่าเป็นประวัติศาสตร์    ของเมืองซึ่งจะจารึกอยู่ในหัวใจของพสกนิกรชาว
จังหวัดหนองบัวลำภู  ไม่มีวันลืมเลือน ดังต่อไปนี้    
   ภาพถ่ายเสด็จพระราชดำเนินวัดในจังหวัดหนองบัวลำภู 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น