วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติรัชกาลที่ 4



         กษัตริย์สยามฯ ผู้เปิดประตูสู่อารยประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระนามเดิมตามจารึกในพระ สุบรรณพัฎว่า “ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติ เทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร” ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประสูติ วันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 20 พรรษา ได้ทรงผนวช และทรงได้รับสมณนามฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า วชิรญาโณ แปลเป็นภาษาไทยว่า “ ผู้มีญาณแข็งแกร่งประดุจดังเพชร ” ทรงเจริญในสมณเพศอยู่นานถึง 26 ปี ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคต เมื่อปีพ.ศ. 2394 พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2394 มีพระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

        รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยแรกของการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเพื่อความทันสมัย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อให้เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่ มีอารยธรรมและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่า ประเทศไทยต้องยกเลิกการแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวอย่างที่เคยทำมา ต้องยอมทำการค้ากับต่างประเทศและรับความคิดเห็นใหม่แบบตะวันตก การแก้ไขปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกประเทศเป็นเรื่องจำเป็น รวมทั้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีล้าสมัย ทรงใช้พระบรมราโชบายเป็นสายกลางผสมผสานระหว่าง ตะวันตกและตะวันออก ดังพระราชดำริว่า “ อย่าติดของเก่า อย่าตื่นของใหม่ จงค้นหาดีในของเก่าของใหม่”

         ตลอด ระยะเวลา 17 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ได้ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นทั้งพระเจ้าแผ่นดินและผู้นำ คณะก้าวหน้า ในหมู่ชาวต่างประเทศต่างๆ นิยมเรียกขานพระองค์ว่า “ คิงส์มงกุฎ” พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม ทรงบริหารแผ่นดิน บำเพ็ญพระราชกรณียกิจใหญ่น้อย ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นล้นพ้น อาทิเช่น

        ทรง เปิดสัมพันธภาพทางการทูตกับต่างประเทศ นับว่าในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้ เป็นไมตรีกับประเทศที่สำคัญในทวีปยุโรปและอเมริกาเกือบทั้งหมด โปรดเกล้าฯให้แก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้า ให้ความสะดวกทางการค้าแก่ชาวต่างประเทศมากขึ้นกว่าเดิม ทรงให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือ โดยให้เสียภาษีขาเข้าและขาออกแทน โปรดเกล้าฯ ให้นำข้าวสารไปขายยังต่างประเทศได้

        โปรด เกล้าฯ ใช้ธรรมเนียมจับมืออย่างชาติตะวันตก ทรงเริ่มใช้ธรรมเนียมฝรั่ง โดยพระราชทานพระหัตถ์ให้แก่ผู้มาเข้าเฝ้าจับเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2409 และถือเป็นขนบธรรมเนียมสืบเนื่องใช้มาจนทุกวันนี้
ทรง ยกเลิกประเพณีให้ชาวต่างประเทศหมอบคลาน โปรดเกล้าฯให้ชาวต่างประเทศยืนเฝ้าฯ ได้ในท้องพระโรงและมีพระบรมราชานุญาตให้ดื่มเครื่องดื่ม และสูบบุหรี่ได้ต่อหน้าพระพักตร์ระหว่างปฏิสันถาร

        โปรด เกล้าฯ ให้ข้าราชการไทยสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้าตามแบบอารยธรรมตะวันตก โปรดฯให้วังเจ้านาย สถานที่ราชการของไทยชักธงประจำตำแหน่งแบบกงสุลต่างประเทศ เมื่อทรงทราบว่าพระมหากษัตริย์ชาวยุโรปมีประเพณีประดับเครื่องหมายแสดงพระ เกียรติยศที่ฉลองพระองค์ จึงโปรดให้ทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สร้างเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์
โดย ทรงบัญญัติศัพท์ว่า “ ดารา” แทนคำว่า Star และยังคงใช้คำนี้ในการเรียกส่วนประกอบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับชั้น 2 ขึ้นไปจนถึงชั้นสายสะพายมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับ ดร. คาสเวลล์ (Caswell) หมอบลัดเล (Bradley) และหมอเฮาซ์ (House) นอกจากภาษาอังกฤษแล้วยังทรงศึกษาภาษาลาตินกับ สังฆราช พัลลกัวร์(Pallegoix) และทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศส บาลี สันสกฤต และภาษามอญ ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งประเทศตะวันออกพระองค์แรกที่ทรงรู้ภาษาอังกฤษ ทรงใช้ภาษาอังกฤษศึกษาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการแขนงอื่นๆ อีกทั้งทรงส่งเสริมให้พระราชโอรส พระราชธิดา เจ้านายฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เรียนภาษาอังกฤษ

    ด้านการเมืองการปกครอง

    * โปรดเกล้าฯให้ยกเลิกประเพณีบังคับ ราษฎรให้ปิดประตูหน้าต่างบ้าน เวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ ผ่าน ทรงยกเลิกประเพณีห้ามมองห้ามดูพระเจ้าแผ่นดิน
    * โปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเข้าเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิน ทรงกำหนดวันเวลาขึ้นให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีกากับพระองค์เอง
    * โปรดเกล้าฯ ให้มีการเลือกสรรข้าราชการตุลาการชั้นสูง
    * โปรดให้ส่งชื่อเพื่อคัดเลือกแทนการประกาศแต่งตั้งจากพระองค์
    * โปรด เกล้าฯ ให้พิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์ข่าวราชการจาก ท้องตรา และหมายที่ออกประกาศไป รวมเป็นเล่มแจกผู้ที่เกี่ยวข้องกับราชการ อ่านให้เข้าใจในคำสั่งราชการ

         ทรงแนะนำให้ราษฎรทำนาตามช่วงเวลาที่กำหนดให้ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเกษตรแก่ ราษฎร ทรงประกาศตักเตือนราษฎรให้รอบคอบในการทำนิติกรรม ซึ่งต้องลงชื่อทำสัญญาต่างๆ เช่น กรมธรรม์ขายตัวเป็นทาส ขายหรือจำนองที่ดิน
โปรด ให้ร่างประกาศเกี่ยวกับทาสว่า เจ้าของทาสต้องยอมรับเงินจากทาสที่ต้องการไถ่ถอนตัวเองเป็นอิสระ ทรงตราพระราชบัญญัติทรัพย์สินเดิมและสินสมรส และทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักพา ซึ่งควรถือว่าเป็นเอกสารเชิดชูสิทธิสตรีฉบับแรกของไทย ทรงประกาศให้นางใน กราบถวายบังคมลาออกไปมีสามีข้างนอกได้ ยกเว้นแต่นางในที่เป็นเจ้าจอมมารดาที่มีพระราชโอรส พระราชธิดา
ทรงยอมลดพระราชอำนาจที่เป็นสิทธิ์ขาดของพระมหากษัตริย์ไม่ทรงถือว่าพระมหา กษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินในพระราชอาณาจักรแต่ผู้เดียว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาที่ดิน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระพิพัฒนสัตยา โดยทรงตั้งสัจจะว่าจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชาติ

          ด้านการศาสนา

          ขณะทรงผนวชอยู่ทรงตั้งลัทธิสมณวงศ์ใหม่เรียกว่า “ ธรรมยุติกนิกาย” ให้ถือปฏิบัติเอาแต่สิ่งที่ถูกตามพระธรรมวินัย นิกายธรรมยุติตั้งขึ้นมาเพื่อปฏิรูปพระพุทธศาสนา ฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ทรงริเริ่มวางระเบียบแบบแผนดังนี้ ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรม ทรงเพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทย ทรงกำหนดวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทรงแก้ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ ทรงแก้ไขการขอบรรพชาและการสวดกรรมวาจาในการอุปสมบท ทรงวางระเบียบการครองผ้าของภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติตามหลักเสริยวัตรในพระ วินัย ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหาความรู้สาขาอื่นๆของพระสงฆ์ ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวล ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน
พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนน ทั้งในเขตพระนครและตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อใช้ในการเดินทางและขนส่งสินค้า ถนนที่ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นคือ ถนนเจริญกรุง ถนนจำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และถนนพระราม 4 นอกจากสร้างถนนยังโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง เพื่อใช้ในการสัญจรของราษฎร ทำให้การคมนาคมสะดวก มีการติดต่อค้าขายกันมากขึ้น เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ การแลกเปลี่ยนเงินตรากันเป็นเรื่องจำเป็น เงินพดด้วงที่ใช้กันอยู่ไม่เพียงพอ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญที่ผลิตด้วยครื่อ งจักรและ โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงกษาปณ์ แห่งแรกในประเทศไทย

        ด้านการทหาร

       ทรงโปรดเกล้าฯให้ฝึกหัดทหารตามแบบชาวยุโรป โปรดเกล้าฯให้สร้างเรือใบ เรือกลไฟ ให้เป็นเรือรบเรือลาดตระเวน ไว้สำหรับป้องกันประเทศ

         ในสมัยนี้การก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่งดงามแปลกตา เพราะเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ด้านจิตรกรรมนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้เขียนภาพ ฝาผนังที่พระอุโบสถและพระวิหาร จิตรกรคนสำคัญในสมัยของพระองค์คือขรัวอินโข่งที่ริเริ่มเขียนภาพแบบฝรั่งและ ภาพแบบสามมิติ ส่วนปฏิมากรรมทรงโปรดเกล้าฯใหเหล่อพระพุทธรูปและจำลองพระพุทธรูปเพื่อพระราช ทานไปยังพระอาราม

         วรรณคดีในสมัยนั้นยังมีความรุ่งเรือง

        ด้วยที่พระองค์ทรงเป็นนักการศึกษาจึง พระราชนิพนธ์ไว้เป็นจำนวนมากมีทั้งทางโลกและทางธรรม บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดง ซึ่งพระราชนิพนธ์เป็นบทละครในแสดงให้เห็นว่าพระองค์พระราชนิพนธ์กลอนบท นิพนธ์ได้เป็นอย่างดี
ศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่พระองค์ทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญคือ โหราศาสตร์พระองค์ทรงพยากรณ์ทำนายดวงชะตาได้แม่นยำ หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก ดังมีตัวอย่างคาถาพระราชทานพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ ทรงพระราชนิพนธ์ตำราตรีภพ ใช้ทำนายโชคชะตาราศี ซึ่งโหรหลวงและนักโหราศาสตร์ใช้เป็นหลักในการพยากรณ์จนถึงทุกวันนี้

        พระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความรอบรู้และ เชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง ไม่เว้นแม้แต่วิทยาศาสตร์อันเป็นศาสตร์สมัยใหม่ในเวลานั้น ทรงสนพระทัยในวิชาวิทยาศาสตร์มากโดยเฉพาะดาราศาสตร์ จนพระองค์ได้รับการยกย่องจากวงการวิทยาศาสตร์ไทยว่าเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย กล่าวกันว่าพระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องดาวหาง และทรงประกาศมิให้ราษฎรของพระองค์หลงเชื่อในความเล่าลือต่างๆ ให้เห็นเป็นเรื่องของปรากฏการณ์ธรรมชาติ

        พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาว่าจะเกิดในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 ซึ่งเป็นจริงตามที่พระองค์ทรงคำนวณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรไข้ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการทอดพระเนตรสุริยุปราคา ทรงประชวรหนักและเสด็จสวรรคต
ในวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ. 2411ดำรงราชสมบัติ 17 พรรษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น