วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

การเล่นวอลเลย์

                                          แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา               สาระที่ ๓             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ เรื่องทักษะรวม (เล่นลูกมือล่าง มือบนและการเสิร์ฟ)        เวลา ๑ ชั่วโมง
.................................................................................................................................

๑. สาระสำคัญ
          การฝึกทักษะรวม (เล่นลูกด้วยมือล่าง ด้วยมือบน และการเสิร์ฟ) เป็นการนำเอาทักษะ
พื้นฐานการเล่นวอลเลย์บอลมาใช้ในลักษณะสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพราะการแข่งขันจำเป็น
อย่างยิ่ง
ที่จะต้องนำทักษะดังกล่าวมาใช้ผสมผสานกันตามความเหมาะสม อีกทั้งการแข่งขัน
ยังช่วยเสริมสร้าง สมรรถภาพทางกาย ทางจิตใจ ความมีระเบียบวินัย ความมีน้ำใจนักกีฬา
ความสามัคคี และนำกิจกรรมไปใช้เป็นสื่อในการออกกำลังกายในชีวิตประจำวันได้
๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
          สามารถปฏิบัติทักษะพื้นฐานการเสิร์ฟ การเล่นลูกด้วยมือล่าง และมือบนที่สัมพันธ์กันได้

๓. จุดประสงค์การเรียนรู้
          ๓.๑ ปฏิบัติกิจกรรมการเล่นลูกด้วยมือล่างได้
          ๓.๒ ปฏิบัติกิจกรรมการเล่นลูกด้วยมือบนได้
          ๓.๓ ปฏิบัติกิจกรรมการเล่นลูกด้วยการเสิร์ฟได้

๔. สาระการเรียนรู้
          ๔.๑ การเล่นลูกด้วยมือล่าง
          ๔.๒ การเล่นลูกด้วยมือบน
          ๔.๓ การเล่นลูกด้วยการเสิร์ฟ
          ๔.๔ วิธีการแข่งขันวอลเลย์บอล ๒ : ๒ การตัดสิน และการบันทึกผลการแข่งขัน
          ๔.๕ รายละเอียดข้อ ๔.๑ – ๔.๔ อยู่ในใบบันทึกผลการแข่งขัน และเนื้อหาความรู้ที่ ๑๑.๑
                  เรื่องการแข่งขันวอลเลย์บอล ๒ : ๒ ดังแนบอยู่ท้ายแผนการจัดการเรียนรู้

๕. กิจกรรมการเรียนรู้
          ๕.๑ ขั้นนำ / ขั้นเตรียม (๕ – ๑๐ นาที)
                ๕.๑.๑ นักเรียนเข้าแถวตอนแบ่งเป็น ๕ กลุ่ม หัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่มสำรวจรายชื่อ
                          ความสะอาด สุขภาพและเครื่องแต่งกายของนักเรียนทุกคนในกลุ่มเพื่อ
                          เตรียมความพร้อม และความปลอดภัย 


                ๕.๑.๒ นักเรียนทุกกลุ่มบริหารร่างกาย โดยการวิ่งรอบสนามวอลเลย์บอลจำนวน
                          ๑ รอบ พร้อมทั้งบริหารหัวไหล่ แขน และข้อมือ เพื่อเตรียมความพร้อม
                          ในการเรียนการสอน และเพื่อป้องกันการบาดเจ็บขณะเล่น หรือฝึกปฏิบัติ
                          ที่อาจเกิดขึ้นได้
          ๕.๒ ขั้นสอน (๑๐ – ๑๕ นาที)
                ๕.๒.๑ ครูผู้สอนสนทนากับนักเรียนถึงประสบการณ์ในการชม หรือแข่งขัน
                          วอลเลย์บอลว่าต้องใช้ทักษะใดบ้างในการแข่งขัน และชี้ให้เห็นถึงหน้าที่ของ
                          ผู้เล่นในตำแหน่ง ต่าง ๆ ประโยชน์และความสำคัญของทักษะพื้นฐานต่าง ๆ
                          ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้วในคาบเรียนที่ผ่านมา เพื่อนำมาใช้ในการแข่งขัน
                ๕.๒.๒ ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความสามารถร่วมอธิบาย สาธิตวิธีการเล่น
                          กติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล ๒ : ๒ การตัดสิน การบันทึกผลการแข่งขัน
                          วอลเลย์บอล ๒ : ๒ และเนื้อหาความรู้ที่ ๑๑.๑ เรื่องการเล่นวอลเล่ย์บอล
                          ๒ : ๒ ดังแนบอยู่ท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนทุกคนได้ชม
                          โดยครูผู้สอนคอยให้การดูแล ช่วยเหลือ แนะนำ อธิบาย พร้อมสาธิตร่วมกับ
                          นักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติ
                          ได้อย่างถูกต้อง
          ๕.๓ ขั้นฝึก (๕ - ๑๐ นาที)
                 ๕.๓.๑ นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ ๒ คน แยกฝึกปฏิบัติ การเล่นวอลเล่ย์บอล ๒ : ๒
                          ตามตัวอย่าง ข้อ ๕.๒.๒
          ๕.๔ ขั้นใช้ (๑๕ - ๒๐ นาที)
                นักเรียนทุกกลุ่มแยกฝึกปฏิบัติการแข่งขัน ดังต่อไปนี้
                ๕.๔.๑ แต่ละกลุ่มแข่งขันวอลเลย์บอล ๒ : ๒ กลุ่มละ ๑ ครั้ง
                ๕.๔.๒ ทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสิน ( ผู้ถือตาข่าย ( เชือก ) ๒ คน และผู้บันทึก
                           ผลการแข่งขัน ๑ คน ) กลุ่มละ ๑ ครั้ง
                ๕.๔.๓ ครูผู้สอนคอยให้การดูแลช่วยเหลือแนะนำ และปรับปรุงแก้ไข ให้ถูกต้อง
                          พร้อมทั้งให้คะแนน ร่วมกับนักเรียนขณะแข่งขัน และจากใบบันทึกผล
                          การแข่งขัน
          ๕.๕ ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ (๕ – ๑๐ นาที)
                ๕.๕.๑ นักเรียนและครูผู้สอนร่วมกันอภิปราย ซัก – ถาม แสดงความคิดเห็นและ
                           สรุปความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ทักษะการเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง การเล่น
                           ลูกบอลด้วยมือบน และการเสิร์ฟลูกบอล
                ๕.๕.๒ นักเรียนปฏิบัติสุขปฏิบัติ ( ทำความสะอาดร่างกาย เช่นมือ แขน ใบหน้า )


๖. วัสดุอุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
           ๖.๑ เนื้อหาความรู้ที่ ๑๑.๑ เรื่องการแข่งขันวอลเลย์บอล ๒ : ๒
           ๖.๒ ใบบันทึกผลการแข่งขัน
           ๖.๓ สนามวอลเลย์บอลขนาดเล็กจำนวน ๔ สนาม
           ๖.๔ ตาข่ายความยาวประมาณ ๗ เมตร (เชือก)
           ๖.๕ ลูกวอลเลย์บอล ๕ - ๑๐ ลูก
๗. การวัดผลและการประเมินผล 
          ๗.๑ วิธีการวัดผลประเมินผล
                 ๗.๑.๑ บันทึกผลการแข่งขันวอลเลย์บอล ๒ : ๒
          ๗.๒ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลประเมินผล
                ๗.๒.๑ แบบบันทึกผลการแข่งขัน การแข่งขันวอลเลย์บอล ๒ : ๒
          ๗.๓ เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
                ๗.๓.๑ เมื่อนักเรียน เรียนจบจุดประสงค์ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑๑
                          เรื่องทักษะรวมแล้ว นักเรียนได้คะแนนจากแบบบันทึกผลการแข่งขัน
                         วอลเลย์บอล ๒ : ๒ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน

๘. กิจกรรมเสนอแนะ
          แหล่งข้อมูล นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก
          ๘.๑ แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามความเหมาะสม เช่น หนังสือจากห้องสมุด หรือ
                จากแหล่งเรียนรู้โดยทั่วไป
          ๘.๒ ชมการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลตามโอกาสต่างๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น